“น้ำ” ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือพืช แต่ปัจจุบัน ปริมาณน้ำเสียในแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากทั้งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียกลายเป็นระบบที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดมลภาวะทางน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แล้วในการบำบัดน้ำเสีย จะมีขั้นตอนอย่างไร มีวิธีใดบ้าง และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมากน้อยแค่ไหน เรามีทุกเรื่องของวิธีการจัดการน้ำเสียมาบอกกัน
น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งสกปรก สารเคมี หรือสิ่งปฏิกูลทุกชนิดปนเปื้อนอยู่ เช่น ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ ไขมัน ผงซักฟอก ทำให้คุณสมบัติของน้ำถูกเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก โดยมีที่มาจาก 2 แหล่งใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่
น้ำเสียจากแหล่งนี้เกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการต่าง ๆ ในโรงงาน
ของมนุษย์ จึงมักพบในเขตที่มีผู้อยู่อาศัยและอาคารบ้าน อุตสาหกรรม มักมีสิ่งสกปรกจำพวกสารเคมีที่เป็นพิษ โลหะ
เรือนตั้งอยู่จำนวนมาก หนัก และสารอินทรีย์เข้มข้นชนิดต่าง ๆ เจือปนอยู่จำนวนมาก
วิธีบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจึงต้องมีความซับ
ซ้อนกว่าน้ำเสียจากแหล่งชุมชน
ระบบบำบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment) หมายถึง ระบบที่ช่วยกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียจากทั้งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม จนน้ำมีคุณภาพดีมากขึ้น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลเสียต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ ลดความเสี่ยงการเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค ป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำ และลดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์จากน้ำเน่าด้วย
หลังจากบำบัดแล้ว น้ำเหล่านั้นก็จะถูกระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ รวมถึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และด้านอื่น ๆ ซึ่งหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่นี้ก็คือโรงบำบัดน้ำเสีย ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมควบคุมมลพิษ ปัจจุบันมีทั้งหมด 202 แห่งทั่วประเทศไทย
วิธีการที่ใช้ในการบำบัดน้ำนั้น หลัก ๆ แล้ว สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน แต่จะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดที่ต้องการ งบประมาณ และสภาพแวดล้อม ซึ่งรายละเอียดของแต่ละวิธี มีดังนี้
น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจะมีคุณภาพเหมาะสม สามารถปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ ซึ่งจะช่วยลดการปนเปื้อนสารเคมี สารอินทรีย์ และโลหะหนัก อีกทั้งยังไม่ทำลายระบบนิเวศหรือสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบ
การบำบัดน้ำเสียช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมควบคุมมลพิษ ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกปรับ สั่งหยุดกิจการ หรือดำเนินคดีทางกฎหมาย
น้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต ล้างพื้น หรือรดน้ำต้นไม้ภายในโรงงานได้ ช่วยลดค่าใช้น้ำประปา และลดความจำเป็นในการซื้อทรัพยากรเพิ่ม
น้ำเสียที่มีสารกัดกร่อนหรืออนุภาคแขวนลอย หากไม่ผ่านการบำบัด อาจส่งผลให้ท่อส่งน้ำหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เสื่อมสภาพเร็ว การบำบัดน้ำเสียจึงช่วยป้องกันความเสียหายและยืดอายุของระบบภายในโรงงาน
องค์กรที่มีการจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้า นักลงทุน และผู้บริโภค
การจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสมเป็นส่วนหนึ่งของแนวทาง ESG (Environment, Social, Governance) ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญในปัจจุบัน ช่วยให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับความยั่งยืน
ในการบำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำที่ได้มาตรฐานนั้น จะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ การบำบัดขั้นต้น การบำบัดขั้นที่สอง และการบำบัดขั้นสูง ซึ่งรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนมีดังนี้
เป็นกระบวนการบำบัดน้ำด้วยการใช้ตะแกรงหยาบ การบำบัดขั้นที่สองเป็นการบำบัดด้วยกระบวนการชีวภาพ ขั้นตอนสุดท้าย เป็นกระบวนการกำจัดสารตกค้างที่ตกตะกอน
ตะแกรงละเอียด ถังดักกรวดทราย ถังตกตะกอนเบื้องต้น โดยใช้การเลี้ยงจุลินทรีย์ในสภาวะที่ควบคุมได้ เพื่อให้ ได้ยาก ทั้งสารอาหาร สี สารแขวนลอย และสารเคมีอื่น ๆ
และเครื่องกำจัดไขฝ้า เพื่อแยกของแข็งออกมาจากน้ำเสีย จุลินทรีย์ทำหน้าที่กำจัดสารอินทรีย์ที่เจือปนอยู่ในน้ำ เพื่อให้น้ำสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ พร้อมปล่อยน้ำ
โดยสามารถกำจัดของแข็งประเภทแขวนลอยได้ถึง 50-70% ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น หลังจากนั้นจึงใช้ถังตกตะกอน ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และป้องกันการเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย
แยกจุลินทรีย์ออกมาแล้วนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรค
อีกครั้ง
ที่มา - https://www.siamentech.com/watertreatment/
สาระน่ารู้ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง