055 531 113
[email protected]
facebook
Search
主頁
了解自治市
一般信息
符號
市政狀態變更公告
高管理事會
โครงสร้างส่วนราชการ
任務/人員目錄
管理團隊
Deputy Municipality
หัวหน้าส่วนราชการ
หัวหน้าฝ่าย
前管理
สภาเทศบาลนครแม่สอด
โครงสร้างสภาเทศบาลนครแม่สอด
會議報告
กิจกรรมงานสภาเทศบาลนครแม่สอด
รายงานการประชุมสภาเทศบาลนครแม่สอด
角色
人口和家庭統計
願景與發展
願景使命
แผนพัฒนาเทศบาล
五年發展計劃
แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี
แผนพัฒนาท้องถิ่น 3 ปี
รายงานติดตามและประเมินผลแบบพัฒนา
แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
งบแสดงฐานะการเงิน
คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลนครแม่สอด
คู่มือและแนวทางการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลนครแม่สอด
คู่มือการปฏิบัติงานการโอนเงินและเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณประจำปี เทศบาลนครแม่สอด
แผนบริหารจัดการความเสี่ยง(RISK MANAGEMENT)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เทศบาลนครแม่สอด
รายงานการปฏิบัติงานตามนโยบายนายกเทศมนตรีนครแม่สอด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
附屬學校
20個社區
信息
Highlight Maesot
採購流程
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ ประจำปี
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1)
สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและจัดซื้อพัสดุประจำปี
รายงานแสดงผลการดำเนินงานประจำปี
公共關係
職位新聞
新聞/活動
E Book วารสารเทศบาลนครแม่สอด
DRIVE MAESOT
全省有趣的新聞
視頻
獲獎情況
組織
กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดเทศบาล
Prevention and mitigation of disaster
งานทะเบียนราษฎร
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองช่างสุขาภิบาล
กองคลัง
กองสวัสดิการสังคม
กองช่าง
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการศึกษา
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
ข้อมูลบริการ
人力資源管理與開發
ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เทศบาลนครแม่สอด
服務
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2562
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2562
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2563
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2563
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2564
ข้อมูลสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2564
คู่มือหรือมาตราฐานการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2564
ข้อมูลสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2565
ข้อมูลสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2566
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อ
操作手冊
การป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน
防欺詐計劃
防止欺詐措施
管理欺詐風險的措施
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร ประจำปี พ.ศ.2562
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ประจำปี พ.ศ.2562
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต ประจำปี พ.ศ.2562
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร ประจำปี พ.ศ.2563
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต ประจำปี พ.ศ.2563
เจตจำนงในการบริหารงานของเทศบาลนครแม่สอด ปี 2564
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต ประจำปี พ.ศ.2564
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต ประจำปี 2565
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี 2566
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี 2567
投訴統計
การส่งเสริมความโปร่งใส
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ITA
ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA)
Tourist service
下載
推薦出版物
รายงานการประชุมสภาเทศบาลนครแม่สอด
聯繫我們
聯繫我們
Site Map
抱怨
ร้องเรียนทุจริต
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
แบบสำรวจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเมืองพิเศษ"นครแม่สอด"
Webboard
E-Service
ยื่นคำร้องออนไลน์
主頁
了解自治市
一般信息
符號
市政狀態變更公告
高管理事會
โครงสร้างส่วนราชการ
任務/人員目錄
管理團隊
Deputy Municipality
หัวหน้าส่วนราชการ
หัวหน้าฝ่าย
前管理
สภาเทศบาลนครแม่สอด
โครงสร้างสภาเทศบาลนครแม่สอด
會議報告
กิจกรรมงานสภาเทศบาลนครแม่สอด
รายงานการประชุมสภาเทศบาลนครแม่สอด
角色
人口和家庭統計
願景與發展
願景使命
แผนพัฒนาเทศบาล
五年發展計劃
แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี
แผนพัฒนาท้องถิ่น 3 ปี
รายงานติดตามและประเมินผลแบบพัฒนา
แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
งบแสดงฐานะการเงิน
คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลนครแม่สอด
คู่มือและแนวทางการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลนครแม่สอด
คู่มือการปฏิบัติงานการโอนเงินและเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณประจำปี เทศบาลนครแม่สอด
แผนบริหารจัดการความเสี่ยง(RISK MANAGEMENT)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เทศบาลนครแม่สอด
รายงานการปฏิบัติงานตามนโยบายนายกเทศมนตรีนครแม่สอด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
附屬學校
20個社區
信息
Highlight Maesot
採購流程
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ ประจำปี
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1)
สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและจัดซื้อพัสดุประจำปี
รายงานแสดงผลการดำเนินงานประจำปี
公共關係
職位新聞
新聞/活動
E Book วารสารเทศบาลนครแม่สอด
DRIVE MAESOT
全省有趣的新聞
視頻
獲獎情況
組織
กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดเทศบาล
Prevention and mitigation of disaster
งานทะเบียนราษฎร
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองช่างสุขาภิบาล
กองคลัง
กองสวัสดิการสังคม
กองช่าง
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการศึกษา
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
ข้อมูลบริการ
人力資源管理與開發
ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เทศบาลนครแม่สอด
服務
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2562
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2562
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2563
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2563
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2564
ข้อมูลสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2564
คู่มือหรือมาตราฐานการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2564
ข้อมูลสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2565
ข้อมูลสถิติการให้บริการ ประจำปี พ.ศ.2566
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อ
操作手冊
การป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน
防欺詐計劃
防止欺詐措施
管理欺詐風險的措施
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร ประจำปี พ.ศ.2562
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ประจำปี พ.ศ.2562
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต ประจำปี พ.ศ.2562
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร ประจำปี พ.ศ.2563
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต ประจำปี พ.ศ.2563
เจตจำนงในการบริหารงานของเทศบาลนครแม่สอด ปี 2564
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต ประจำปี พ.ศ.2564
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต ประจำปี 2565
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี 2566
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี 2567
投訴統計
การส่งเสริมความโปร่งใส
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ITA
ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA)
Tourist service
下載
推薦出版物
รายงานการประชุมสภาเทศบาลนครแม่สอด
聯繫我們
聯繫我們
Site Map
抱怨
ร้องเรียนทุจริต
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
แบบสำรวจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเมืองพิเศษ"นครแม่สอด"
Webboard
E-Service
ยื่นคำร้องออนไลน์
อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทีปังกรรัศมีโชติ
อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทีปังกรรัศมีโชติ
哪裡: งานระบบสารสนเทศ กองการศึกษา
26 Oct 2021
6134 時間
อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
“ทีปังกรรัศมีโชติ”
Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park
ประวัติความเป็นมา
ในปี พ.ศ.2552 เป็นปีที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชันษาครบ 4 ปี ชาวจังหวัดตากโดยเฉพาะ “ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ประกอบด้วย จังหวัดตาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เทศบาลนครแม่สอด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตาก เห็นควรร่วมใจกันสร้างสิ่งซึ่งเป็นมงคลแก่ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานนาม “อุทยานการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ” ว่า อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”(Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552
โครงการอุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม“ทีปังกรรัศมีโชติ” (Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park) เป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านและการเรียนรู้ ถือเป็นการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และให้คนไทยได้รับโอกาสแห่งการศึกษาเรียนรู้ที่เท่าเทียมกันตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในอุทยานแห่งการเรียนรู้นี้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนด้วยรูปแบบของพื้นที่ที่จะเน้นไปที่ความทันสมัย เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ มีความสนใจ อุทยานการเรียนรู้แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วย ห้องสมุดมีชีวิต ที่ให้บรรยากาศที่แตกต่างสื่อถึงความสนุกสนาน สามารถอ่านหนังสือในอิริยาบถต่าง ๆ ไม่ว่าจะนั่งเอกเขนก เดิน นอน เอน เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน พร้อมกิจกรรมที่ทำร่วมกันต่อเนื่องทุกสัปดาห์, ลานสานฝันสำหรับเด็กที่แสวงหาความตื่นเต้นจากกิจกรรม, ห้องฉายภาพยนตร์ 4 มิติ ที่มีห้องโลกเสมือนจริงไว้เรียนรู้ตามความชอบเฉพาะทางโดยจะนำเทคนิคภาพเสมือนจริงมาใช้ในการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นการจัดตั้งอุทยานการเรียนรู้ฯ จึงเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนา ร่วมภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการสร้างสังคมการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจร่วมกัน
เทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ ส่งเสริมและจัดการศึกษาอบรมให้แก่เด็กและเยาวชนและประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอุทยานการเรียนรู้ฯ เพื่อไว้บริการแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนของจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียงได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ อีกทั้งยังเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนและท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย เป็นทางเลือกของการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเยาวชนและบุคคลทุกเพศทุกวัย ที่ซึ่งสามารถทดลองและแสดงออกในสิ่งที่ตนเองสนใจ เป็นรากฐานในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่างๆ ด้วยความพร้อมของสื่อและเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีรูปแบบที่เน้นให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายแตกต่างจากแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป คือ ไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ที่มีลักษณะคล้ายห้องเรียนในโรงเรียนหรือห้องทดลองในโรงเรียนเท่านั้น อาศัยการดึงดูดผู้คนให้เกิดความสนใจและมาใช้บริการโดยได้หยิบยกแนวทางความเป็นจริงในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่มาเป็นแนวคิดที่จะกำหนดรูปแบบโครงการฯ โดยให้มีองค์ประกอบการดึงดูดผู้คนคล้ายคลึงกับสถานที่ต่างๆ ดังนี้ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “ห้างสรรพสินค้า” ที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความต้องการอยากเข้าไปเพื่อได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ที่ทันสมัย พร้อมด้วยการผ่อนคลาย และเป็นจุดนัดพบ เพื่อพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน ทัศนคติ แนวความคิด หรือสาระต่างๆ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น“ร้านหนังสือ” ที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเข้าไปอ่านด้วยความอยากรู้ อยากติดตามข่าวสาร และสาระใหม่ๆโครงการอุทยานการเรียนรู้ฯ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “สวนสนุก”ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าไปเพื่ออยากสัมผัสความตื่นเต้น ความแปลกใหม่ อยากทดลองเพื่อทดสอบความกล้าและความมั่นใจในตนเองโครงการอุทยานการเรียนรู้ฯ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “โรงภาพยนตร์”ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าไปเพื่อผ่อนคลายความเครียด เพื่อศึกษาสารคดี เพื่ออยากได้ประสบการณ์เรื่องเสียงและบรรยากาศที่แตกต่างจากการชมภาพยนตร์หรือสารคดีตามบ้านเรือนหรือโรงเรียนทั่วไปโครงการอุทยานการเรียนรู้ฯ ต้องเป็นแหล่งที่สามารถดึงดูดใจผู้คนเสมือนเป็น “สวนสาธารณะ” ที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความต้องการอยากเข้าไปเพื่อพักผ่อน ผ่อนคลาย ออกกำลังกาย และเป็นจุดนัดพบ เพื่อพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน ทัศนคติ แนวความคิด หรือสาระต่างๆ จากองค์ประกอบการดึงดูดของสถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ยินดีที่จะสมัครใจเข้าไปใช้บริการโดยแรงจูงใจที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระตุ้นโดยตนเองทั้งสิ้น
ประโยชน์การจัดตั้งอุทยานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
“ทีปังกรรัศมีโชติ”
อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก คือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างลงตัว โดยจะเน้นเกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคนิคแสง สี เสียงในการนำเสนอโดยมีทั้งส่วนที่ให้เรียนรู้ภายในอาคารและส่วนที่ให้เรียนรู้ภายนอกอาคาร จากการที่อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” ได้เปิดให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงภายใต้สิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบ ๆ ตัว ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ในลักษณะของการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ที่ไม่เน้นการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน ดังนั้นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจึงเป็นอีกสิ่งที่จะก่อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมผัสและจับต้องได้
ทั้งนี้ ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ ไม่ได้มีเฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น เป็นแหล่งส่งเสริมและปลูกฝังให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปหันมาสนใจด้านวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีแหล่งการเรียนรู้ที่ครบครันและทันสมัยอยู่ใกล้บ้านอุทยานการเรียนรู้ฯ ยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมมอบความรู้ด้านต่าง ๆ
อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” Dipangkorn Rasmijoti Science and Environment knowledge Park
ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
ห้องนิทรรศการพระบารมีปกเกล้า เหล่าปวงประชา
เป็นห้องนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ภายในห้องประกอบด้วย บอร์ดนิทรรศการที่ทรงปฏิบัติภารกิจของพระองค์ท่าน
โซนโถงพักคอย
เป็นโซนบริเวณถัดจากโถงประชาสัมพันธ์มีบอร์ดข้อมูลแสดงโซนต่าง ๆ ภายในอุทยานการเรียนรู้ฯ และมีแบบจำลองอาคารอุทยานการเรียนรู้ฯ
โถงประชาสัมพันธ์
เป็นห้องบริการข้อมูลแก่ผู้เข้าชม และเผยแพร่ ข่าวสารต่าง ๆ ถ่ายทอด บรรยากาศของโซนต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกอาคารอุทยานฯ
โซนโลกของเงา
โลกของเงาเป็นการนำเสนอและเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานการผลิตรายการ การสร้างภาพจิตนาการ ประกอบด้วย สื่อภาพยนตร์ ห้องตัดต่อบันทึกเสียง เพื่อให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์
ห้องสมุดมีชีวิต
เป็นห้องสมุดที่ประกอบด้วย เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีสื่อที่ทันสมัยให้ความรู้ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ผ่านทางจอโทรทัศน์ที่ติดตั้งกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วบริเวณห้องสมุด
โซนวิทยาศาสตร์ ชั้น
1
เป็นโซนของมุมวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ประกอบด้วย ไซคลอยด์ เก้าอี้แรงโน้มถ่วง เก้าอี้โมเมนตั้ม ไจโรสโคป ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว โมเลกุล ผลึก น้ำมีชีวิต ห้องจำลองภัยพิบัติ
โซนภาพยนตร์ 4 มิติ
การเรียนรู้ในโลกจินตนาการที่เหมือนจริงด้วยการฉายภาพยนตร์ แบบ 4 มิติ เป็นแท่นซิมมูเลเตอร์เคลื่อนไหวได้ ใช้งานร่วมกับภาพยนตร์พร้อมเสียงเอฟเฟ็คท์ ผู้ชมสามารถดูภาพยนตร์ไปพร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวเพื่อจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง
ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
ห้องลานสานฝัน
เป็นห้องที่สำหรับการแสดงออกแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนจิตนาการของเยาวชน มีเวทีสำหรับการแสดงละครเวที พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนเพื่อให้เกิดความสมจริง ชุดแต่งกาย ระบบแสง สี เสียง และพิเศษต่างๆ เพื่อให้เด็ก เยาวชนได้แสดงออกถึงสิ่งที่คิด มีพรสวรรค์ ต้องการเรียนรู้ในด้านศิลปะการแสดงนานๆชนิด
ห้องฉายดาว
เป็นห้องฉายดาวระบบดิจิตอล ที่ทันสมัยขนาดใหญ่ 10 เมตร พร้อมระบบเสียงเซอร์ราวรอบทิศทาง ครอบคลุมระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและประสิทธิภาพสูง ซึ่งเด็กเยาวชนสามารถเข้าชมเพื่อศึกษาระบบสุริยะจักรวาล ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่างๆ พร้อมไฟแสง สี กราฟิก โมเดลดาวเทียมจำลองขนาดใหญ่ และบอร์ด แสดงการทำงานของระบบดาวเทียมทั้งภาคพื้นดินและในอวกาศ
โซนวิทยาศาสตร์ ชั้น 2
ประกอบด้วย เครื่องเล่นวิทยาศาสตร์ ห้องแสง สี มุมนักวิทยาศาตร์ ห้องคณิตศาสตร์ โซนสิ่งมีชีวิต
โซนไดโนเสาร์
เป็นโซนจัดแสดงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ ในโลกยุคดึกดำบรรพ์ แสดงถึงพฤติกรรมและการดำรงชีวิตของสัตว์ในโลกยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันสูญพันธ์หมดแล้ว เป็นโซนที่มีการแนะนำให้รู้จักกับไดโนเสาร์
จะมีไดโนเสาร์อยู่ 4 ตัวได้แก่ กิก้าโนโตซอรัส ไทรเซราทอปส์ ไทแรนโนซอรัส อะแพทโตซอรัส
บริเวณภายนอกอาคารอุทยานฯ
โซนลานน้ำพุ
เป็นลานสวนน้ำขนาด 50 เมตร มีเครื่องเล่นชุดท่อ และหัวฉีดสายน้ำ กลไกฉีดน้ำ น้ำพุแท่งแก้วแบบกระโดดเป็นจังหวะได้พร้อมไฟ แสง สี แบบอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนสีได้ไม่น้อยกว่า7 สีควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์
โซนสวนพรรณพืชภูมิศาสตร์สถาปัตย์
เป็นสวนรวบรวมข้อมูลของพันธ์ที่ใช้ในงานภูมิศาสตร์ไม่น้อยกว่า 100 ชนิด ซึ่งหายากพร้อมข้อมูลของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด ทั้งชื่อท้องถิ่นและชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อไว้ให้เด็กเยาวชนและประชาชนได้ศึกษา
โซนน้ำตก
ผาน้ำตก (150 ตร.ม) ผาน้ำตกจำลอง ก้อนหินจำลอง ขอนไม้ จำลอง พร้อมต้นไม้และสัตว์จำลอง พร้อมติดตั้งระบบไฟ แสง สี ส่องสว่าง ระบบเสียงสร้างบรรยากาศ ซึ่งตั้งเวลาทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบไมโครโปรเซลเซอร์
แผนผังแสดงบริเวณอาคารอุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” Dipangkorn RasmijotiScience and Environment knowledge Park
ภาพประกอบการเข้าเยี่ยมชม
อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม "ทีปังกรรัศมีโชติ"